วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 2

http://books.google.com/intl/th/googlebooks/about.html เกี่ยวกับ Google หนังสือ เบต้า - ความช่วยเหลือ - นโยบายส่วนบุคคล - ข้อกำหนด ของ การให้บริการ - อุปกรณ์เคลื่อนที่ - โหมด HTML - ข้อมูลสำหรับผู้จัดพิมพ์ - Google หน้าแรกเกี่ยวกับ Google Books ภาพรวม ประวัติความเป็นมา ข้อเท็จจริงกับความเชื่อประวัติความเป็นมาของ Google Booksในยุคเริ่มต้น ก็มี Google Books มาก่อนแล้วจริงๆ ก็ไม่นานขนาดนั้น แต่เราสามารถอ้างได้แน่นอนว่าโครงการนี้มีมานานเท่ากับ Google เอง ในปี 1996 Sergey Brin และ Larry Page สองผู้ร่วมก่อตั้ง Google กำลังเป็นนักศึกษาปริญญาโทด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งทำโครงการวิจัยโดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการ Stanford Digital Library Technologies พวกเขามีเป้าหมายที่จะสร้างห้องสมุดดิจิทัลให้ใช้งานได้ และความคิดที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขาคือ ในโลกยุคอนาคตซึ่งหนังสือหมวดหมู่ประเภทต่างๆ มากมายจะถูกเก็บไว้ในระบบดิจิทัล ผู้คนจะใช้ "ซอฟต์แวร์รวบรวมข้อมูลเว็บ" (web crawler) ในการจัดดัชนีเนื้อหาของหนังสือ และวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างกัน ซึ่งเป็นการระบุส่วนที่สัมพันธ์กันและประโยชน์ของหนังสือที่กำหนดไว้ โดยติดตามดูจำนวนและคุณภาพของตัวอย่างจากหนังสือเล่มอื่นๆซอฟต์แวร์รวบรวมข้อมูลเว็บที่พวกเขาสร้างขึ้นมานั้นเรียกว่า BackRub และนับเป็นจุดพลิกผันแบบใหม่ในการวิเคราะห์ตัวอย่างแบบดั้งเดิม ซึ่งผลักดันให้เกิดขั้นตอนวิธี PageRank ของ Google อันเป็นเทคโนโลยีแกนหลักในการค้นหาซึ่งทำให้ Google เป็น Google ได้อย่างทุกวันนี้ในเวลานั้น Larry และ Sergey มองเห็นภาพผู้คนทุกหนแห่งสามารถค้นจากหนังสือทุกเล่มทั่วโลกเพื่อจะหาสิ่งที่ต้องการ สิ่งที่พวกเขาไม่อาจจินตนาการได้ก็คือ วันหนึ่งพวกเขาจะเริ่มทำโครงการที่จะช่วยให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นจริงได้ ในที่นี้จะเป็นการสำรวจโดยสรุปผ่านเหตุการณ์สำคัญๆ บางส่วนจนถึงปัจจุบัน[2002]ชาว Google กลุ่มเล็กๆ ได้เริ่มทำโครงการลับเรื่อง "หนังสือ" ขึ้นอย่างเป็นทางการ พวกเขาได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นข้างหน้า โดยเริ่มจากคำถามธรรมดาๆ แต่มีความสำคัญว่า จะต้องใช้เวลานานเท่าไรในการสแกนหนังสือทุกเล่มในโลกนี้เป็นระบบดิจิทัล เป็นเรื่องแปลกมากที่ไม่มีใครทราบเลย Larry Page จึงตัดสินใจทดลองทำด้วยตนเองตามแบบฉบับของ Google วันหนึ่งขณะอยู่ในสำนักงาน เขาและ Marissa Mayer ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ชุดแรกของเรา ใช้เครื่องเคาะจังหวะเพื่อรักษาจังหวะในขณะที่พลิกหน้าเอกสารจำนวน 300 หน้าไปเรื่อยๆ โดยใช้เวลา 40 นาทีเต็มกว่าจะถึงหน้าสุดท้ายเมื่อได้รับแรงบันดาลใจจากโครงการพิเศษต่างๆ ด้านการแปลงระบบดิจิทัลที่กำลังดำเนินการอยู่ทั่วโลก เช่น โครงการ American Memory ของห้องสมุดสภาคองเกรส, Project Gutenberg, Million Book Project และ Universal Library ทีมงานจึงเริ่มดำเนินการเยี่ยมชมไซต์ต่างๆ เพื่อเรียนรู้ถึงวิธีการทำงานของพวกเขาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจค้นหาข้อเท็จจริงนี้ Larry Page จึงติดต่อไปที่ University of Michigan สถาบันที่เขาเคยศึกษาอยู่และเป็นผู้บุกเบิกในงานแปลงระบบดิจิทัลของห้องสมุด ซึ่งได้แก่ JSTOR และ Making of America เมื่อเขาทราบว่าเวลาโดยประมาณในการสแกนหนังสือจำนวนเจ็ดล้านเล่มของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในขณะนี้คือ 1,000 ปี เขาจึงบอกกับ Mary Sue Coleman อธิการบดีของมหาวิทยาลัยว่าเขามั่นใจว่า Google จะสามารถทำให้ได้ภายใน 6 ปี[2003]สมาชิกในทีมคนหนึ่งเดินทางไปยังงานหนังสือการกุศลที่เมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา เพื่อหาหนังสือมาทดสอบเทคนิคการสแกนที่ไม่สร้างความเสียหายให้หนังสือ หลังจากทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีกนับครั้งไม่ถ้วน ทีมงานได้ปรับปรุงพัฒนาวิธีการสแกนที่เบาแรงกว่ากระบวนการความเร็วสูงที่ใช้กันทั่วไปในขณะนั้นอย่างมาก จึงทำให้ทีมงานมีความยินดีปรีดา อีกทั้งหนังสือต่างๆ เองก็ยินดีปรีดายิ่งกว่านั้นอีกในขณะเดียวกัน วิศวกรซอฟต์แวร์ของทีมก็พัฒนาไปสู่การแก้ไขปัญหาทางเทคนิคที่ซับซ้อน ซึ่งพวกเขาประสบอยู่ในการประมวลผลข้อมูลจากหนังสือที่มีขนาดต่างกัน แบบตัวอักษรแปลกๆ หรือลักษณะเฉพาะอื่นๆ ที่ไม่คาดว่าจะเจอในภาษาต่างๆ กันถึง 430 ภาษา[2004]หลังจากก่อตั้งขึ้นในปี 1602 โดย Sir Thomas Bodley ภารกิจของห้องสมุด Bodleian ที่ Oxford University ก็ได้ให้บริการไม่เพียงแต่ภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้นแต่ทั่วทั้งโลกด้วย ทีมงานได้ไปเยี่ยมชมห้องสมุดที่มีชื่อเสียงนี้และได้รับการต้อนรับที่อบอุ่นเป็นอย่างยิ่งในระหว่างการพาเดินชมหิ้งหนังสือต่างๆ บรรณารักษ์นำหนังสือที่ "ไม่ตัดขอบกระดาษ" อายุหลายร้อยปีออกมา หนังสือเหล่านี้แทบไม่ได้สัมผัสแสงตะวันเลย นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ Shakespeare ทำงานเป็นคนเขียนบทละคร ความฝันในการขยายแวดวงเล็กๆ ของเหล่านักประพันธ์ออกไปอย่างทวีคูณโดยการเข้าถึงหนังสือดังกล่าวก็ดูเหมือนอยู่แค่เอื้อมการเยี่ยมชมครั้งนี้สร้างแรงบันดาลใจเป็นอย่างดี รวมทั้งการประชุมและการสนทนาติดตามเรื่องดังกล่าวได้นำไปสู่การเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการในการวางระบบดิจิทัลชุดหนังสือที่เป็นสาธารณสมบัติในศตวรรษที่ 19 มากกว่า 1 ล้านเล่มของห้องสมุดแห่งนี้ภายใน 3 ปีขณะเดียวกัน การพูดคุยสำรวจข้อมูลเรื่องต่างๆ กับผู้จัดพิมพ์รายใหญ่ที่สุดในโลกบางรายก็เริ่มเห็นผลเกิดขึ้น ในเดือนตุลาคม Larry และ Sergey ประกาศเปิดตัว "Google Print" ในงานหนังสือ Frankfurt Book Fair ที่เยอรมนี ผู้จัดพิมพ์รายแรกๆ ที่เข้าร่วมโครงการมีดังนี้ Blackwell, Cambridge University Press, University of Chicago Press, Houghton Mifflin, Hyperion, McGraw-Hill, Oxford University Press, Pearson, Penguin, Perseus, Princeton University Press, Springer, Taylor & Francis, Thomson Delmar และ Warner Booksในเดือนธันวาคม เราประกาศการเริ่มต้นโครงการห้องสมุด "Google Print" ซึ่งสำเร็จลงได้โดยการร่วมเป็นพันธมิตรกับ Harvard, the University of Michigan, the New York Public Library, Oxford และ Stanford ชุดหนังสือต่างๆ ที่รวบรวมไว้ในห้องสมุดพิเศษเหล่านี้ประมาณไว้ว่าเกินกว่า 15 ล้านเล่ม[2005]หลังจากเปิดตัว Google Print ได้หนึ่งปี ทีมงานกลับไปที่งานหนังสือ Frankfurt Book Fair เพื่อแจ้งให้ทราบว่าบัดนี้ "Google Print" รับพันธมิตรต่างๆ เข้ามาจากแถบยุโรป 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน และสวิตเซอร์แลนด์เพื่อปฏิบัติภารกิจของเราในการจัดระบบข้อมูลในโลกและทำให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากทุกที่นั้น เราได้บริจาคเงินจำนวน 3 ล้านเหรียญให้แก่ห้องสมุดสภาคองเกรสเพื่อช่วยสร้างห้องสมุดดิจิทัลของโลก (World Digital Library) ขึ้นซึ่งจะออนไลน์เข้าถึงรายการข้อมูลเฉพาะด้านที่หายากได้จากทั่วทุกมุมโลก และเรายังได้ขยายโครงการต้นแบบการสแกนของเรากับห้องสมุดแห่งนี้ ซึ่งรวมถึงงานแปลงระบบดิจิทัลที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์จากห้องสมุดกฎหมายของห้องสมุดสภาคองเกรสอีกด้วยGoogle เปลี่ยนชื่อ "Google Print" เป็น Google Books ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิธีการใช้งานได้ชัดเจนมากขึ้น ทีมงานยังได้ตอบข้อโต้แย้งเรื่องโครงการห้องสมุดโดยเข้าร่วมใน การโต้วาทีสาธารณะ เกี่ยวกับหลักการที่สำคัญของตนด้วย[2006]ในการปราศรัยปลุกใจที่สมาคมสำนักพิมพ์แห่งอเมริกา (Association of American Publishers - AAP) Mary Sue Coleman อธิการบดีของ University of Michigan อธิบายถึงเหตุผลที่มหาวิทยาลัยได้เลือกเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเราในโครงการห้องสมุด โดยยืนยันถึงความสำคัญของการแปลงหนังสือเป็นแบบดิจิทัลเมื่อต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติต่างๆ อย่างเช่น เฮอร์ริเคนแคทริน่า และยังกล่าวเสริมอีกว่า "เราเชื่อมั่นในโครงการนี้ไม่มีเปลี่ยนแปลง"ในเดือนมีนาคม เราไปร่วมงานหนังสือ London Book Fair ซึ่งมีพันธมิตรผู้จัดพิมพ์ของเราบางรายแบ่งปันประสบการณ์ของตนที่ผ่านมาหลังจากนั้นไม่นานนัก เราขอให้พันธมิตรของเราแจ้งแก่เราว่า พวกเขาต้องการขายการเข้าถึงหนังสือออนไลน์เต็มรูปแบบให้กับผู้อ่านในเบราว์เซอร์ของตนเลยหรือไม่ นี่คือทางเลือกอันดับแรกจากทางเลือกใหม่ๆ ที่มีอยู่จำนวนมากซึ่งเรากำลังพัฒนาขึ้นในการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้จัดพิมพ์เพื่อช่วยพวกเขาในการทดลองใช้วิธีการรูปแบบใหม่ในการขายหนังสือออนไลน์ ตลอดช่วงฤดูร้อน เราช่วยจัดการแสดงให้ Shakespeare in the Park ในการเปิดงานฉลองครบรอบ 50 ปีโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใน Central Park ด้วยการสร้างสถานที่ในการสืบค้นและค้นหาละครออนไลน์สมบูรณ์แบบของ Bard ขณะที่อยู่ในนิวยอร์กซิตี้ เรายังได้ไปร่วมงาน Book Expo America และให้ผู้จัดพิมพ์และผู้เขียนในสหรัฐดูตัวอย่างสิ่งที่ผู้ใช้จะได้เห็น เมื่อพวกเขาเข้าร่วมโครงการพันธมิตรหนังสือ (Books Partner Program)เราเริ่มจัดทำโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะผลิตภัณฑ์ขึ้นมาหนึ่งชุดเพื่อให้ Book Search ใช้งานได้เกิดประโยชน์และง่ายขึ้น ประการแรก เราขยายการเข้าถึงไปยังผลงานอันเป็นสาธารณสมบัติที่เราได้สแกนไว้โดยเพิ่มปุ่ม ดาวน์โหลด PDF ให้กับหนังสือที่ลิขสิทธิ์หมดอายุแล้ว ไม่กี่เดือนต่อมา เราได้ออกอินเทอร์เฟซการเรียกดูแบบใหม่ ที่ช่วยให้เรียกดูและนำทาง Book Search ได้ง่ายขึ้น อินเทอร์เฟซแบบใหม่นี้ยังมาพร้อมกับหน้า เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ แบบใหม่ที่ใช้ขั้นตอนวิธีของ Google ในการแสดงหน้าต่างๆ พร้อมกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหนังสืออย่างมาก โดยในเบื้องต้นได้แก่ หนังสือที่เกี่ยวข้อง หน้าและข้อมูลอ้างอิงที่เกี่ยวข้องจากผลงานของผู้เชี่ยวชาญ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง มีห้องสมุด 4 แห่งเข้าร่วมโครงการห้องสมุด ได้แก่ University of California, University Complutense of Madrid, University of Wisconsin- Madison และ University of Virginia[2007]เราทำการทดลองหลายๆ วิธีเพื่อให้ผู้คนโต้ตอบกับหนังสือได้โดยใช้ UI ใหม่เป็นจุดเริ่มต้นดำเนินการสถานที่ในหนังสือเล่มนี้: การประกอบแผนที่รวมไว้ทำให้คนสามารถเรียกดูหนังสือโดยอาศัยสถานที่ตั้งที่ระบุไว้ในหนังสือเล่มนั้นได้ (ต่อมาภายหลังเราได้ออก KML layer รุ่นทดลองสำหรับ Google Earth ซึ่งใช้กลับกัน กล่าวคือผู้ใช้เลือกสถานที่ตั้ง แล้วเราทำแผนที่หนังสือใส่เข้าไป)บทความที่เป็นที่นิยม: เราสร้างวิธีแบบใหม่ในการไปยังหนังสือต่างๆ โดยสืบหาการใช้ข้อความหนึ่งจากหนังสือหนึ่งชุดห้องสมุดของฉัน: เราช่วยให้ผู้คนได้ใช้ประโยชน์จากความสามารถของ Google Search จากชุดหนังสือส่วนตัวของพวกเขาเอง ผู้ใช้เริ่มดูแลและแบ่งปันห้องสมุดส่วนตัว บทวิจารณ์ และอันดับความนิยมของตนกับผู้อื่นหน้าแรกแบบใหม่ (เริ่มใช้เฉพาะในสหรัฐฯ): เราทำให้ผู้คนก้าวกระโดดไปไกลขึ้นในการสำรวจหนังสือในดัชนีของเราMarissa Mayer ได้นำ Universal Search มาใช้ในสหรัฐฯ และ Book Search จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้งาน Google Search ที่มีการผสมผสานกันมากขึ้น ในเดือนพฤษภาคม Cantonal and University Library of Lausanne และ Ghent University Library ได้เข้าร่วมโครงการ Book Search โดยเพิ่มหนังสือเป็นจำนวนมากในภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน เฟลมมิช ละติน และภาษาอื่นๆ และทำให้จำนวนพันธมิตรห้องสมุดในยุโรปทั้งหมดเพิ่มเป็น 6 แห่งในเดือนกรกฎาคม เราเพิ่มลิงก์ "ดูเฉพาะข้อความ" ไปยังหนังสือที่ลิขสิทธิ์สิ้นอายุแล้วทุกเล่ม T.V. Raman อธิบายว่าวิธีนี้นำหนังสือไปสู่เทคโนโลยีที่ปรับได้ เช่น โปรแกรมอ่านหน้าจอและจอแสดงอักษรเบรลล์ โดยให้ผู้ใช้ที่มีความบกพร่องทางสายตาสามารถอ่านหนังสือเหล่านี้ได้ง่ายเช่นเดียวกับผู้ใช้ที่มองเห็นได้ภายในเดือนธันวาคม อินเทอร์เฟซ Book Search มีให้บริการกว่า 35 ภาษา ตั้งแต่ภาษาญี่ปุ่น ไปจนถึงภาษาเช็ก และจนถึงภาษาฟินแลนด์ ผู้จัดพิมพ์และผู้เขียนกว่า 10,000 รายจาก 100 กว่าประเทศกำลังเข้าร่วมใน Book Search Partner Program โครงการห้องสมุดขยายเพิ่มพันธมิตรขึ้นเป็น 28 ราย ซึ่งรวมถึงพันธมิตรห้องสมุดนานาชาติ 7 แห่ง ได้แก่ Oxford University (อังกฤษ), University of Complutense of Madrid (สเปน), National Library of Catalonia (สเปน), University Library of Lausanne (สวิตเซอร์แลนด์), Ghent University (เบลเยียม) และ Keio University (ญี่ปุ่น)ขณะที่เรามองไปในปีข้างหน้า เรายังคง

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Sanooker

Sanooker




งานประจำสัปดาห์ที่1


Journal
From Wikipedia, the free encyclopedia
Jump to: navigation, search
This article is about the journal as a written medium. For other uses, see Journal (disambiguation).
This article does not cite any references or sources.Please help improve this article by adding citations to reliable sources. Unsourced material may be challenged and removed. (May 2009)
A journal (through French from Latin diurnalis, daily) has several related meanings:
a daily record of events or business; a private journal is usually referred to as a diary.
a newspaper or other periodical, in the literal sense of one published each day;
many publications issued at stated intervals, such as magazines, or scholarly pacific journals, academic journals, or the record of the transactions of a society, are often called journals. Although journal is sometimes used, erroneously[citation needed], as a synonym for "magazine", in academic use, a journal refers to a serious, scholarly publication, most often peer-reviewed. A non-scholarly magazine written for an educated audience about an industry or an area of professional activity is usually[citation needed] called a professional magazine.
The word "journalist" for one whose business is writing for the public press has been in use since the end of the 17th century.
Contents[hide]
1 Open access
2 Public journal
3 Business
4 See also
//
[edit] Open access
Open access journals are scholarly journals that are available to the

ส่งงานโปรเจ็ก

http://www.mediafire.com/?mdzzzzexvej